
โปรแกรมท่องเที่ยวเกาะมันใน เยี่ยมชมโครงการอนุรักษ์เต่าทะเล
มีพื้นที่ประมาณ131 ไร่ 3 งาน 31 ตารางวา มีอ่าวที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวต้นมะขาม อ่าวหินโขดหญ้า อ่าวโกงกางและอ่าวหน้าบ้าน โดยเฉพาะที่อ่าว หน้าบ้านมีปะการัง ส่วนอ่าวโกงกางเป็นพื้นที่ทรายเรียบตลอด เกาะมันในเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ใน สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยมีพระราชประสงค์ให้เกาะมันในเป็นที่ดำเนินโครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลเกาะมันใน อยู่ห่างจากแหลมแม่พิม 5 กิโลเมตร (ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที) อยู่ห่างจาก ปากน้ำประแสร์ 9.8 กิโลเมตร (ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง) การเดินทางไปเกาะมันในอาจเช่าเรือไปได้ทั้งสอง แห่ง เฉพาะการเช่าเรือจากแหลมแม่พิมต้องไปลงเรือที่อ่าวมะขาม
การอนุรักษ์เต่าทะเลสนองพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาท
เต่าทะเล คือ สัตว์เลื้อยคลานอีกสายพันธุ์หนึ่งของโลกที่กำลังถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่จำนวนเต่าทะเลลดลงอย่างเห็ได้ชัดจากหลากหลายสาเหตุ เช่น ถูกล่าเพื่อการค้า ความเปลี่ยนแปลงของท้องทะเลซึ่งเป็นถิ่นทีอยู่อาศัย การทำประมงที่ผิดวิธีโดยเฉพาะการทำประมงเชิงพาณิชย์ที่มุ่งกอบโกยทรัพยากรทางทะเลแต่เพียงอย่างเดียว ฯลฯ เมื่อปี พ.ศ. 2516 สามารถเก็บไข่เต่าได้ทั่วประเทศประมาณ 400,000 ฟอง แต่ในปัจจุบันพบว่ามีไข่เต่าปีละไม่เกิน 20,000 ฟองเท่านั้น จากการวิเคราะห์ของนักวิชาการ ประเมินไว้ว่าหากสถานการณ์ยังคงดำเนินไปเช่นนี้ เต่าทะเลต้องสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2580 หรืออีกประมาณ 40 กว่าข้างนี้อย่างแน่นอน
ประเทศไทยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของเต่าทะเล 5 ชนิด คือ เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า และเต่าหัวฆ้อน โดยเต่าทะเล 4 ชนิดแรกที่กล่าวถึงมีการสร้างรังวางไข่ตามหาดทรายของประเทศไทยน
พระราชปณิธานในการอนุรักษ์เต่าทะเล
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์เต่าทะเล จึงได้พระราชทานจัดตั้งโครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลขึ้น เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2522 พร้อมกับพระราชทานเกาะมันใน ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ให้แก่รัฐบาลนำไปพัฒนาเป็นสถานีเพาะเลี้ยงลูกเต่าทะเล เพื่อการอนุรักษ์ต่อไป
นอกจากโครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลจะได้ดำเนินโครงการสนองพระราชปณิธานเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเต่าทะเล เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติแล้วโครงการฯ ยังได้นำเสนอต่อกระทรวงพาณิชย์ให้ออกประกาศห้ามส่งกระดองเต่าทะเลเป็นสินค้าออกตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 (ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2523) พร้อมทั้งเสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรการอนุรักษ์เต่าทะเลโดยห้ามครอบครองกระดองเต่าทะเลและผลิตภัณฑ์จากเต่าทะเล ผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทรปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ชาวประมงกับการอนุรักษ์เต่าทะเล
ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อปกป้องและค้มครองชีวิตของเต่าทะเล โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนชาวไทย แต่จำนวนของเต่าทะเลก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย ในทุก ๆ ปีมีรายงานแจ้งให้ทราบว่ามีแม่เต่าขึ้นมาวางไข่น้อยลงในทุกชายหาดซึ่งเป็นแหล่งวางไข่ และในทุกวันนี้เต่าทะเลก็ยังคงเสียชีวิตอย่างต่อเนื่องจากหลายกหลายสาเหตุ เช่น ว่ายน้ำเข้ามาติดเครื่องมือการประมง การติดเชื้อโรคซึ่งมีปัญหาจากสภาพแวดล้อมเป็นพิษ ฯลฯ
นอกจากนี้ ชาวประมงจะสามารถมีส่วนร่วมอนุรักษ์เต่าทะเลได้โดยการหลีกเลี่ยงการเข้าไปทำการประมงในบริเวณดังกล่าวหรือเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น เมื่อต้องทำประมงในบริเวณดังกล่าว หรือเพ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นเมื่อต้องทำประมงในช่วงฤดูกาลที่เต่าทะเลอาจจะเข้ามาผสมพันธุ์บริเวณแหล่งน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง
ในประเด็นของเต่าทะเลว่ายน้ำเข้ามาติดเครื่องมือการประมงจนเสียชีวิตนั้น อาจกล่าวได้ว่าชาวประมางส่วนใหญ่มีเจตนาที่จะรักษาชีวิตเต่าทะเลเอาไว้ แต่ปัญหาที่พบก็คือ ไม่ทราบว่าเมื่อมีเต่าทะเลว่ายน้ำเข้ามาติดเครื่องมือการประมงหรือเต่าบาดเจ็บกำลังว่ายน้ำอย่างอ่อนแรง จะมีวิธีการปฐมพยาบาลเต่าที่บาดเจ็บตัวนี้อย่างไร
มาตรการเร่งด่วนในการรักษาชีวิต
โดยทั่วไปแล้วเต่าทะเลเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีความแข็งแรงและอดทน แต่ในบางครั้งอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ๆ ก็อาจส่งผลให้เต่าทะเลเสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้าหากท่านใดพบว่ามีเต่าทะเลว่ายน้ำเข้ามาติดเครื่องมือการประมงหรือพบเห็นเต่าทะเลบาดเจ็บลอยคออยู่กลางทะเล กรุณานำเต่าทะเลตัวนั้นมาดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือปรึกษาสัตวแพทย์ที่อยู่ใกล้ที่สุดเพื่อขอคำแนะนำ ถ้าหากไม่สามารถตัดสินใจที่จะดำเนินการใด ๆ ต่อไปได้ กรุณาประสานงานกลับมายังหน่วยงานตามชื่อที่อยู่ใกล้ที่สุดเพื่อขอคำแนะนำ ถ้าหากไม่สามารถตัดสินใจใด ๆ ต่อไปได้ กรุณาประสานงานกลับมายังหน่วยงานตามชื่อและที่อยู่ต่อไปได้ กรุณาประสานงานกลับมายังหน่วยงานตามชื่อและที่อยู่ต่อไปนี้ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาเต่าทะเลที่บาดเจ็บอย่างถูกวิธีต่อไป